วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

1. ในการวางแผนองค์กรประกอบด้วยพื้นฐานอะไรบ้าง

ตอบ  การสร้างระบบสารสนเทศใหม่เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการวางแผนองค์การ โดยจะต้องมีการพัฒนาแผนระบบสารสนเทศให้สนับสนุนกับแผนรวมขององค์การทั้งหมด  ซึ่งองค์กรควรจะมีแผนกลยุทธ์ขององค์กรก่อนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศให้รองรับกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ จากนั้นจึงกำหนดแผนปฏิบัติการและโครงสร้างด้านสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในองค์การต่อไป
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ความหมายครอบคลุมทั้งทางด้านเทคนิค และทางด้านการบริหาร
   ซึ่งในด้านเทคนิคหมายความรวมถึง ฮาร์ดแวร์, ซอร์ฟแวร์, เครือข่าย, และฐานข้อมูล
   ส่วนด้านการจัดการ คือ การดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคอมพิวเตอร์ (เช่นศูนย์คอมพิวเตอร์) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เป็นต้น

2.  การวางแผนกลยุธิ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ  1. การวางแผนกลยุทธ์เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการ เปลี ่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัฐกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและ สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสำคัญ
2. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ มีความเป็นตัวเองมาก ขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผน ขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เเป็นการวางแผนที่ต้องกระทำตามที่หน่วยเหนือสั่งการ
3. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นกระแสหลักในการ บริหารภาครัฐในปัจจุบัน และสอดคล้องกับที ่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้เตรียมออกระเบียบ กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางานสู่มิติใหม่ของการปฏิรูป ระบบราชการ
            4. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Base Budgeting) ซึ่งสำนักงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัด จัดทำก่อนที ่จะกระจายอำนาจ ด้านงบประมาณโดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน
           5. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนด “กลยุทธ์” ที่ได้มาจากการคิด วิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมาเป็น ข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้เกิด การริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

3.  จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสารสนเทศมาให้พอเข้าใจ

ตอบ  ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีดังนี้
 1. ขั้นการสำรวจ (Survey)
     เป็นงานขั้นแรกที่กระทำ โดยนักวิเคราะห์จะสอบถามผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน MIS ถึงความต้อง
     การต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เสนอแนะวิธีที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บางครั้งเรียกว่า การ
     ศึกษาความเป็นไปได้ "Feasibility Study"
 2. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structured Analysis)
     เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใช้  MIS  
     เพื่อนำมาประเมินเกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาในการออกแบบและใช้งาน MIS เอกสาร
     จากการวิเคราะห์โครงสร้างมักอยู่ในรูปของกราฟ หรือ รูปภาพแสดงขั้นตอนต่างๆ
 3. การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design)
     เป็นการพิจารณาจำนวนโปรแกรมที่จะใช้ภายในระบบ แต่ละโปรแกรมจะทำงานเป็นอิสระอยู่ใน
     ลักษณะโมดูลโปรแกรม (Program Module)
 4. การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ (Hardware Study)
     การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ในระบบ MIS เป็นงานสองขั้นตอนที่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กัน
 5. ขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Implementation)
     เป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนการทำงานจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งมี
     ผู้บริหารงานจะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด
 6. ขั้นเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ (Conversion)
     เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว นำข้อมูลหรือโปรแกรม
     ต่างๆ ลงเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะนำไปใช้งานต่อไป
 7. การศึกษาปัญหาหลังการใช้ MIS และการบำรุงรักษา (Post Implementation and 
     Maintenance)
      เป็นขั้นตอนการประเมินผลการใช้งานระบบใหม่ โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการ
      สำรวจ ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วทำการปรับระบบหรือเปลี่ยนระบบให้เหมาะสม


4. วงจรพัฒนาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้างจงอธิบาย

ตอบ  วงจรการพัฒนาระบบ
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) คือ กระบวนการทาง
ความคิด (Logical Process) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยระบบที่จะพัฒนานั้น อาจเริ่มด้วยการพัฒนาระบบใหม่เลยหรือนำระบบเดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น ภายในวงจรนี้จะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นระยะ (Phases) ได้แก่ ระยะการวางแผน (Planning Phase) ระยะการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ระยะการออกแบบ (Design Phase) และระยะการสร้างและพัฒนา (Implementation Phase) โดยแต่ละระยะจะประกอบไปด้วยขั้นตอน (Steps) ต่างๆ แตกต่างกันไปตาม Methodology ที่นักวิเคราะห์นำมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินและความพร้อมขององค์กรในขณะนั้น
ขั้นตอนในวงจรพัฒนาระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอน ทำให้สามารถควบคุมระยะเวลาและงบประมาณในการปฏิบัติงานของโครงการพัฒนาระบบได้ ขั้นตอนต่างๆ นั้นมีลักษณะคล้ายกับการตัดสินใจแก้ปัญหาตามแนวทางวิทยาศาสตร์(Scientific Management) อันได้แก่ การค้นหาปัญหา การค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา การประเมินผลแนวทางแก้ไขปัญหาที่ค้นพบ เลือกแนวทางที่ดีที่สุด และพัฒนาทางเลือกนั้นให้ใช้งานได้ สำหรับวงจรการพัฒนาระบบในหนังสือเล่มนี้ จะแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่
     1.  ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection)
     2.  จัดตั้งและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning)
     3.  วิเคราะห์ระบบ (Analysis)
     4.  ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)
     5.  ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)
     6.  พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implement)
     7.  ซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance)


5. จริยธรรมหมายถึง

ตอบ   คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม กับ ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม
ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ เห็นว่า จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน
ส่วนศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งาม เห็นว่า จริยธรรมกับค่านิยมมีความหมายแตกต่างกันเฉพาะในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติยากที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ
  • จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
  • ค่านิยม หมายถึง ความโน้มเอียง หรือแนวทางที่คนจะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือและปฏิบัติตามแนวคิดนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ค่านิยมมีความหมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับความดีงามในความประพฤติ โดยผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากความประพฤตินั้น ๆ ถ้าหากเป็นเพียงเจตคติ (Attitude) ความเชื่อ (Belief) ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นค่านิยมจนกว่าจะได้พิจารณาถึงผลที่จะตามมาจากความประพฤติหรือการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบและมีการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ

6.  ประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ   R.O. Mason และคณะ (2001) ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น ประเภท คือ
                1.) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
                2.) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
                3.) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
                4.) ประเด็นของความเข้าถึงได้ของข้อมูล (Accessibility)


7. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คืออะไรและจะมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้างจงอธิบาย

ตอบ  ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
    คือ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทำลายระบบคอมพิวเตอร์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
       2.1 การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
                     ซึ่งมีทั้ง Hacker และ Criminal Hacker (Cracker)
     2.2 การเปลี่ยนแปลงและทำลายข้อมูล     โดย
                                R virus : เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
                                R worms : เป็นโปรแกรมอิสระที่สามารถจำลองโปรแกรมเองได้
     2.3 การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
        2.4 การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (Computer-related Scams)
การรักษาความปลอดภัย
การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ ประการ คือ
 การควบคุมระบบสารสนเทศ
      - การควบคุมอินพุท
      - การควบคุมการประมวลผล
      - การควบคุมฮาร์ดแวร์
      - การควบคุมซอร์ฟแวร์
      การควบคุมเอาท์พุท
  การควบคุมกระบวนการทำงาน
      - การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐานและคู่มือ
      - การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
      - การมีแผนการป้องกันการเสียหาย
      - การตรวจสอบระบบสารสนเทศ
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
      - ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
      - การแปลงรหัส (Encryption)
      - กำแพงกันไฟ (Fire Walls)
      - การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
      - การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
      - การควบคุมความล้มเหลวของระบบ



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น