วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556


4. องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

ตอบ     องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การสื่อสารข้อมูล(
datacommunication)คือการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่2ตัวขึ้นไปซึ่งข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันนี้มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่าง เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้นเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ การสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็เหมือนกับการพูดระหว่างนักเรียนในกลุ่มหรือการโทรศัพท์คุยกัน ข้อมูลในที่นี้คือบทสนทนาที่นักเรียนแปลกเปลี่ยนกันนั่นเอง เราสามารถเปรียบเทียบการใช้งานคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการนำ ระบบเครือข่ายมาใช้ได้ดังนี้
สมัยก่อน : เราจะต้องพิมพ์ข้อมูลออกมาเป็นเอกสาร หรือเก็บข้อมูลลงแผ่นบันทึก แล้วอาศัยพนักงานในการส่งเอกสารและแต่ละคนจะทำงานโดยอาศัยทรัพยากรหรือซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในเครื่องตนเอง
ปัจจุบัน : เราสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่าย และยังสามารถใช้ทรัพยากรทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ร่วมกันได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการทำงานและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่

ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล
ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลจะสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย 6 ปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่ง (
sender หรือ sending device) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เริ่มออกคำสั่งในการส่งข้อมูล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
2. ข้อมูลข่าวสาร (
message) คือข้อมูลที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นข้อความตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น
3. โพรโทคอล (
protocol) คือข้อกำหนดมาตรฐาน หรือข้อตกลงในเรื่องรูปแบบของข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโพรโทคอลเปรียบเสมือนภาษาที่นักเรียนใช้ในการพูดคุยกัน ถ้าเราใช้ภาษาไทยในการสนทนาเพื่อนทุกคนก็เข้าใจแต่ถ้านักเรียนใช้ภาษาอื่นที่เพื่อนไม่รู้จักจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถสื่อสารกันได้
4. ช่องทางการสื่อสาร (
communication channel) คือช่องทาง หรือเส้นทางในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ อันได้แก่ สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุและสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
5. ตัวแปลงสัญญาณ (
communication device) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูลที่ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่จะใช้และแปลงสัญญาณที่ได้จากช่องทางการส่งข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับเข้าใจ
6. ผู้รับ (
receiver หรือ receiving device) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกับผู้ส่งหรือไม่ก็ได้ อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเวิร์กสเตชันหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เป็นต้น

การส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งก็ได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้

รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (
One – way หรือ Simplex) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (
Half – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูดเพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
 3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูดโทรศัพท์

ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
1. แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
 - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและ นิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
  - สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลียวแบบหุ้มฉนวน
- สาย
Coaxial สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวน พลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
- ใยแก้วนำแสง (
Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆคล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็ว ในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง
ข้อดีของใยแก้วนำแสง คือ
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มากก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา

2. แบบไม่มีสาย เช่น ไมโครเวฟ
, ดาวเทียม , 3G ระบบ 3G ( UMTS ), Wireless X และ GPRS
- ไมโครเวฟ (
Microwave)
สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ
ส่ง คือ จานสัญญาณไมโครเวฟซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูง และมักจะให้อยู่ห่างกัน ประมาณ 25 30 ไมล์ ข้อดีของการส่งสัญญาณด้วยระบบ ไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้าง
และการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนแทบไม่มีเลย แต่ถ้าระหว่างจานสัญญาณไมโครเวฟมีสิ่งกีดขวางก็จะทำให้การส่งสัญญาณไม่ดีหรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครเวฟนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่าเขา
- ดาวเทียม (
Satellite)
มีลักษณะการส่งสัญญาณคล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับ
ส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของ
ผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ ดาวเทียมจะทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดีของการสื่อสารผ่านดาวเทียม
คือ ส่งข้อมูลได้มากและมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดี
ก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
- 3
G ระบบ 3G (UMTS)
คือการนำเอาข้อดีของ ระบบ
CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น
-
Wireless X
Wireless X หรือระบบ Network แบบไร้สาย ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11ซึ่งอุปกรณ์ทุกตัว ที่ต่างยี่ห้อกันนั้นจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ประสบปัญหา หากอุปกรณ์นั้นผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานก็จะมีการประทับตรา Wi-Fi Certified ซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ตัวนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ อุปกรณ์อื่นที่มีตรา Wi-Fi Certified ได้ แล้วจึงกลายมาเป็นคำศัพท์ของอุปกรณ์ LAN ไร้สาย
-
GPRS
- เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ
GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้งและทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูล รวดเร็วยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้
Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
- นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6
Kbps เป็น 40 Kbpsช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต ได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
- การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้
Video Conference


3. ข้อมูล และ สารสนเทศต่างกันอย่างไร

ตอบ     ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ คำว่า ข้อมูล” (Data) และ สารสนเทศ” (Information) นั้นมีความหมายอยูว่า ข้อมูล หรือข้อมูลดิบ หมายถึงข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ครับ ส่วนข้อมูลดิบที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำและปัจจุบัน ครับ เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ
                 ส่วนข้อมูลเหล่านี้ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วเราจะเรียกว่า สารสนเทศครับ
ดังนั้นความแตกต่างระหว่างข้อมุลและสารสนเทศคือ
ข้อมูลเป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยจากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศ คือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีครับ หรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อกานำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง




2. จงบอกความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ตอบ   

ข้อมูล, สารสนเทศ และการจัดการ
   ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลชนิดต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการนำเสนอค่าความจริงต่างๆ โดยค่าความจริงที่ถูกนำมาจัดการและปรับแต่งเพื่อให้มีความหมายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ
    สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ประเภทของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น จำนวนยอดขายของตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนในเดือนมกราคมจัดเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลผลรวมกันทำให้ได้ยอดขายรายเดือนของเดือนมกราคม ทำให้ผู้บริหารสามารถนำยอดขายรายเดือนมาพิจารณาว่ายอดขายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ได้ง่ายขึ้น ยอดขายรายเดือนนี้จึงจัดเป็นสารสนเทศ หรือตัวอย่าง เช่น ตัวเลข 1.1, 1.5, และ 1.6 จัดเป็นข้อมูลตัวเลข เนื่องจากเป็นค่าความจริงซึ่งยังไม่สามารถแปลความหมายใดๆ ได้แต่ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่งบอกความหมายของข้อมูลได้มากขึ้น เช่น เมื่อกล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้คือยอดขายประจำเดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคม โดยมีหน่วยเป็นหลักล้าน จะทำให้ตัวเลขทั้ง 3 มี ความหมายเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ายอดขายเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมมีค่าเท่ากับ 1.4 ล้าน จัดเป็น สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลตัวเลขทั้ง 3
   ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รูปที่ 1 แสดงขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ

รูปที่ 1 ขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ
 
   การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบ
    ระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยส่วนประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยระบบแต่ละระบบถูกจำกัดด้วยขอบเขต (System Boundary) ซึ่งจะเป็นตัวแยกระบบนั้นๆ ออกจากสิ่งแวดล้อม ดังแสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในระบบดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในระบบ
 
ประเภทของระบบ
ระบบสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายกลุ่ม ดังนี้
1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex)- ระบบอย่างง่าย (Simple) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบน้อยและความสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
- ระบบที่ซับซ้อน (Complex) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบมากหลายส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)- ระบบเปิด (Open) คือ ระบบที่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปิด (Close) คือ ระบบที่ไม่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)- ระบบคงที่ (Static) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเวลาผ่านไป
- ระบบเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ตลอดเวลา
4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)- ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) คือระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive) คือระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
5. ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)- ระบบถาวร(Permanent) คือระบบที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลายาวนาน
- ระบบชั่วคราว(Temporary) คือระบบที่มีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ประสิทธิภาพของระบบ
ประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดได้หลายทาง ได้แก่
    ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน
   ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%
การทำตัวแบบของระบบ
    ในโลกแห่งความเป็นจริงค่อนข้างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อต้องการทดสอบความสัมพันธ์แบบต่างๆ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ตัวแบบของระบบนั้นๆ แทนที่จะทดลองกับระบบจริง ตัวแบบ (Model) คือตัวแทนซึ่งเป็นแนวคิดหรือเป็นการประมาณเพื่อใช้ในการแสดงการทำงานของระบบจริง ตัวแบบสามารถช่วยสามารถสังเกตและเกิดความเข้าใจต่อผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ตัวแบบมีหลายชนิด ได้แก่
1. .
TC = (V)(X)+FC
โดยที่
TC = ค่าใช้จ่ายรวม
V = ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย
X = จำนวนหน่วยที่ถูกผลิต
FC = ค่าใช้จ่ายคงที่
      ในการสร้างตัวแบบแบบใดๆ จะต้องพยายามทำให้ตัวแบบนั้นๆสามารถเป็นตัวแทนระบบจริงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้ทางแก้ปัญหาของระบบที่ถูกต้องมากที่สุด






ระบบการสื่อสาร 2G  3G และ 4G

                เป็นที่รู้กันว่าก่อนที่จะมีการสื่อสารในระบบ 2G หรือ 3G ในปัจจุบันนั้น  เมืองไทยเราและทั่วโลกได้มีพัฒนาระบบการสื่อสารจากการสื่อสารผ่านบุคคลหรือสื่อกลาง เช่น การไปรษณีย์ เป็นต้น  มาเป็นการสื่อสารระบบ 1G หรือศัพท์เฉพาะทางวงการเรียกว่า ระบบการสื่อสารแบบ Analog คือ การใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียวเท่านั้น คือ โทรออกและรับสาย เท่านั้นไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน ข้อมูลและ Application ดังเช่นปัจจุบัน  แม้แต่การรับหรือส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G เพราะในยุคนั้น ความจำเป็นในการใช้งานด้านอื่นๆ  นอกจากเสียงเพื่อการติดต่อสื่อสารยังไม่แพร่หลาย  และการใช้โทรศัพท์ยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเท่าใดนัก อีกทั้งโทรศัพท์ก็มีราคาแพงผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้จึงมีแต่นักธุรกิจที่มีรายได้สูงๆ เท่านั้น
  
 ตัวอย่างการสื่อสารระบบ 1G ที่เราคุ้นเคยในอดีต คือ โทรศัพท์รูปแบบใหญ่เทอะทะ  การใช้งานง่ายๆ  ไม่มีการโชว์เบอร์หรือหน้าจอที่สวยงาม ใช้ได้แค่เพียงรับสายหรือโทรออกเพื่อคุย บางครั้งเราก็เรียกเป็นทำนองล้อเลียนตามขนาดของโทรศัพท์ว่า รุ่น “กระดูกหมู” บ้างก็มี  และที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพจเจอร์ที่รับเฉพาะข้อความจากผู้ส่งผ่านเครือข่ายที่ให้บริการ  เมื่อในอดีตที่ผ่านมานั่นเอง  การให้บริการระบบ 1G เริ่มต้นในปีค.ศ. 1980  จนเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  มาเป็นการสื่อสารแบบระบบ 2G  หรือการสื่อสารระบบ Digital ต่อมา
เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 2G ( Second Generation )  
เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร  จากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital โดยส่งทางคลื่นไมโครเวฟ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งานเสียงเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต  2G นี้  เราสามารถ รับและส่งข้อมูลต่าง ๆ และติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming  
GSM เดิมเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับบริการสื่อสารทางเสียงและการรับหรือส่งข้อมูลแบบง่ายๆ ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งในเอเชียและยุโรป  ตัวอย่างการสื่อสารในระบบ 2G  ในยุคแรกๆ ที่เราคุ้นเคย  ก็คือการผลิตโทรศัพท์มือถือที่หน้าจอเป็นสีขาวดำ  เช่น รุ่น Nokia 3310 ที่เคยได้รับความนิยมก่อนหน้านี้  โดยนอกจากจะมีรูปแบบการสื่อสารทางเสียงแล้วยังเพิ่มคุณสมบัติการสื่อสารทาง sms หรือข้อความ  และเพิ่ม Application อย่างง่ายๆ เข้าไป เช่น  ปฏิทิน เกม นาฬิกาปลุก เป็นต้น สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์อธิบายวิวัฒนาการการสื่อสาร ที่ http://mblog.manager.co.th/watokung/th-77667/
ยุคระบบ 2G  ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ  ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลงกว่ายุค 1G ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้นรวมทั้งในประเทศไทยด้วย  ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น  แต่หลังจากนั้นไม่นานรูปแบบการสื่อสารก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นระบบ 2.5 และ 2.75G จากระบบเสียงโมโนโทน  เริ่มพัฒนาเป็นเสียงโพลีโฟนิกซ์และเสียงแบบสมจริงเหมือน mp3 ปัจจุบันมีแนวโน้มจะพัฒนาไปเป็นระบบ 3G เรื่อยๆ
ก่อนจะกล่าวถึงระบบ 3G ข้าพเจ้าขออธิบายถึง ระบบ 2.5 และ2.75G ก่อนเพื่อให้ท่านทราบถึงความสัมพันธ์ของแต่ละระบบว่าเป็นอย่างไร
2.5G เป็นรูปแบบกึ่งกลางระหว่าง 2G และ 3G ยุคนี้เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service)  ตามหลักการแล้ว เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (1G ส่งข้อมูลได้ 9 Kbps ต่อวินาที) แต่ในบ้านเราใช้ได้แค่ 40 Kbps ต่อวินาทีเท่านั้น   2.5Gนี้มีการพัฒนาให้เครื่องมือสื่อสารมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แต่ยุคนี้ยังเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ  ดาวโหลดได้ช้าและได้จำนวนน้อย  ซึ่งเราจะเห็นตัวอย่างง่ายๆ จากโทรศัพท์มือถือที่เป็นสีรุ่นแรกๆ  นั่นเอง
ส่วนระบบ 2.75G นั้นเป็นการเริ่มใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) หรือบ้านเราเรียกว่า “เอดจ์”  EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดจากการพัฒนาของ GPRS ลักษณะการทำงานจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น  มีความเร็วระดับกว่า  40  Kbpsในระบบ 2G  ถึง 4 เท่าตัว แต่เราไม่ค่อยคุ้นเคยกับศัพท์นี้  เพราะทางผู้ผลิตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและไม่ได้ประกาศให้ผู้บริโภคทราบอย่างเป็นทางการ  ในความเป็นจริงแล้วเรามักซื้อโทรศัพท์ตามลูกเล่นและราคา  ไม่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดอย่างแท้จริง  จึงไม่ทราบว่าเป็นรูปแบบระบบไหน  ในเมืองไทยปัจจุบันถือว่าเป็นรูปแบบ 2.75G นี้เอง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คาบเกี่ยวกับระบบ 3G  สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของเทคโนโลยีเอดจ์ในรูปแบบ 2.75จี  นี้ได้ที่เว็ปไซต์http://www.vcharkarn.com/vblog/34978

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 3G ( Third Generation )
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง  ซึ่งแต่เดิมเครื่องมือสื่อสารทำได้เพียงรับส่งข้อมูลภาพและเสียงต่างเวลาและสถานที่กัน  การสนทนาก็มีเพียงแค่เสียงไม่สามารถเห็นหน้าขณะสนทนาได้แต่ระบบนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพมาก เช่น การรับ-ส่ง Fileข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก การใช้บริการ Video/ Call Conference หรือการสนทนาผ่านระบบวีดีโอ ที่มองเห็นหน้าและสามารถพูดคุยกันได้เสมือนอยู่ต่อหน้ากัน  และสามารถ Download เพลงและดู TV Streaming ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก  คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On กล่าวคือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดใช้งานโทรศัพท์โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อและล็อกอินเข้าเครือข่ายข้อมูลเหมือนจีพีอาร์เอส  ระบบภาพและเสียงที่มีประสิทธิภาพสมจริง  สามารถประชุมทางไกลร่วมกันเพียงผ่านเครื่องมือสื่อสาร  การดาวโหลดและอัพโหลดข้อมูลปัจจุบันอยู่ที่Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps ต่อวินาที  ในอนาคตมีแนวโน้มว่าอัตราการดาวและอัพโหลดข้อมูลจะมากถึง 42 Mbps ต่อวินาทีเลยที่เดียว  การทำงานเปรียบได้กับการมีคอมพิวเตอร์กะทัดรัดที่สามารถพกพาได้เลยทีเดียว 
ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G คือ mobile phone เช่น ไอโฟน 3จีที่คนไทยรู้จักกันดี , PDA (Personal Digital Assistant) , Laptop , Palmtop , PC (Personal Computer) เป็นต้น  ในเมืองไทยระบบนี้ยังไม่มีใช้งาน  เพราะติดขัดด้านกฎหมายหลายอย่าง  อย่างไรก็ดีในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศเริ่มมีการใช้ระบบ 4Gแล้ว  ในทรรศนะของข้าพเจ้าคิดว่า 3G เป็นระบบเครือข่ายแบบก้าวกระโดด  กล่าวคือการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วความโดดเด่นอาจไปปรากฏในลักษณะรูปแบบ 4G พูดง่ายๆก็คือ 3G เป็นเพียงจุดเริ่มต้นการพัฒนาสู่ระบบ 4G นั่นเอง 

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 4G ( Forth Generation )
เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ (IP digital packet )  เป็นเส้นทางโอนถ่ายข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยสายเคเบิล  ระบบเครือข่ายนี้สามารถใช้งานได้แบบไร้สาย  รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง   สามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงมากกว่าระบบ 3G ที่เพิ่มขึ้นถึง 100 Mbps ต่อวินาที  ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบ คลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  และถือเป็นความ เร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ 
ระบบนี้สามารถใช้งานด้านการสื่อสารได้ทั่วโลก  ส่งข้อมูลได้มากกว่ามีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดและราคาถูก  เช่น หากเราต้องการดาวโหลดหนังหรือเพลงสักหนึ่งข้อมูลลง  ก็สามารถดาวโหลดได้ทันทีและรวดเร็วเสมือนใช้อินเตอร์เน็ตจากพีซีที่บ้าน  แต่สะดวกและรวดเร็วกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้สายและราคาถูกกว่า 3G มาก (ศึกษาเปรียบเทียบจากการพัฒนาเพื่อการใช้งานของระบบ 4G ในต่างประเทศที่จะเริ่มให้บริการ  เพราะปัจจุบันเทคโนโลยี 4G ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงความเป็นไปได้ และความชัดเจนที่แน่นอนจากประเทศที่พัฒนาระบบนี้ )  ในบางครั้งหากเราต้องการดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น  ก็สามารถรับชมได้ทันทีจากการส่งข้อมูลของผู้ที่เราสนทนาด้วย  เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารอย่างหูทิพย์ตาทิพย์แบบปัจจุบันทันด่วนเลยทีเดียว
สรุป ความแตกต่างระหว่าง 2G  3G  และ 4G
            2G  เริ่มแรกเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนการสนทนากันได้ทันที แต่ได้เพียงแค่เสียง รับ-ส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพขาว-ดำ ได้ในจำนวนหนึ่ง  รูปแบบข้อมูลเสียงเป็นโมโนโทน  มี Application ง่ายเครื่องมือการสื่อสารระบบนี้ เช่น  โทรศัพท์มือถือหน้าจอขาว-ดำ เป็นต้น  และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ 2.5และ2.75G  ที่พัฒนา Application ที่หลากหลายมากขึ้น  รับและส่งข้อมูลรูปแบบสีสันเสมือนจริง  ระบบเสียงเป็นโพลีโฟนิกซ์และ mp3 เสมือนจริงตามลำดับ  เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการ  รับ-ส่ง และดาวโหลดข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี GPRS และ EDGE ได้ แต่ไม่สามารถดาวโหลดข้อมูลที่มีขนาดและความละเอียดที่สูงมากได้  การสนทนายังเป็นรูปแบบแลกเปลี่ยนเสียงเหมือนเดิม
            3G  พัฒนามาจาก 2G เครื่องมือที่รองรับมี Application ที่หลากหลายมากขึ้น  รับ-ส่ง และดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลได้จำนวนมากๆ  และมีความละเอียดสูง  ที่สำคัญคือสามารถสนทนาและประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยคู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้ากันและกันขณะพูด  เข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ต้องสมัครหรือล็อกอิน( Always on )ได้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องมือใช้งาน  และเชื่อมต่อเครือข่ายได้ทุกที่ทั่วโลก
            4G  พัฒนาต่อยอดจาก 3G  เป็นการประยุกต์เอารูปแบบการสื่อสารทั้งหมดที่มีประสิทธิภาพมารวมกันเป็นระบบเดียว  รูปแบบและระบบการทำงานบางอย่างเหมือนกับ 3G  แต่มีการเพิ่มขีดความสามรถการรับส่งข้อมูล  ดาวโหลด อัพโหลด เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์-เอ็กซ์เตอร์เน็ตได้มากกว่าระบบเดิม  มีความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยพัฒนามา  จัดการข้อมูลที่มีความละเอียดและขนาดใหญ่มากๆ ได้ทันทีและรวดเร็ว  ดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สดๆ และละเอียดสมจริงไม่สะดุด  ระบบ 4G นี้กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบสากลและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต 
*** 12 มีนาคม 2553 *** 22.55 น. ***


1. คำถามในห้องเรียน เทคโนโลยี 3 G 4G 5G คืออะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเราหรือไม่ 

ตอบ  

เทคโนโลยี 3G คืออะไร ω


  • 3G หรือ Third Generation 
  • เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3
  • ยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน
  • ใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 


3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 3G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น

เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ - ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี


จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่

เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น

3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว "Always On"



มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล

ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC



3G คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการด้านระบบเสียงที่ดีขึ้น มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วสูง พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น


เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สาย ยุค 4G


 เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
ลักษณะเด่นของ 4G
 4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน  เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G  เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก  คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps  เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย  ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว  หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน  ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G  กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง  เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง  สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ  ดังนั้น  การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า  3G ก่อนคู่แข่ง  น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่ด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย  นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่  เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบ  อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย  เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง  ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดใขณะนี้
ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ 4เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
 แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์(downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
      
ทำไมจึงอยากได้ 4G
        
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
            
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น
            
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า  สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
            
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portabilit
            
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
            
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย 
พัฒนาการของ 4สำหรับมาตรฐานต่างๆ
            หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้
 
 ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ
GSM จะพัฒนาสู่ 4โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps
ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps
ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
          
 ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3อีกด้วย 
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ  ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์  กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม  และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น
หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว  เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และWiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
 สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย)  การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3และWiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4หากกลุ่มที่พัฒนา 4ไม่รีบชิงพัฒนา 4G
Enconcept’ 5G

เอ็นคอนเส็ปท์ ควัก 40 ล้าน อัดฉีดนวัตกรรม-เทคโนโลยีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสมัยใหม่ให้ผู้เรียน ขณะเดียวกันเตรียมขยายสาขาต่างจังหวัด เพิ่มอีก 4 แห่ง พร้อมรีโนเวตสาขาเก่า หวังดึงดูดกลุ่มนักเรียนกระโปรงบาน ขาสั้น คาดทั้งปีรายได้เติบโตเพิ่ม 25%

นายธเนศ เอื้ออภิธร ประธานสถาบันสอนภาษาอังกฤษ เอ็นคอนเส็ปท์ อี แอค เคเดมี่ เปิดเผยว่า ระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานี้สถาบันสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ได้มีพัฒนาการเรื่องของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้ใน ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทุกสถาบันที่มี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของภาษาอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันสถาบันสอนภาษาอังกฤษ เอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่ก็ได้มีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามา ช่วยในเรื่องการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน อาทิ Enconcept E-Studio ซึ่งเป็น การพัฒนาระบบห้องเรียนภายใต้แนวคิด Edutainment ที่ได้มีการนำกล้องระบบวงจร ปิดเข้าจับภาพบรรยากาศการเรียน และการ สอนของอาจารย์ เพื่อทำการบันทึกลง DVD สำหรับแจกให้นักเรียนกลับไปทบทวนต่อได้ที่บ้าน, E-Live การสอนผ่านระบบดาว เทียม E-Live เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนพร้อมกันทุกสาขาทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “Alive On Demand” ช่วยในจัดการเรียนภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่ ซึ่งผู้เรียนสามารถกำหนดเวลา เลือกเนื้อหา และ เรียนซ้ำในส่วนที่ต้องการได้อย่างไม่จำกัด ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งในสถาบัน และระบบ Smart Board หรือกระดานอัจฉริยะ ที่สามารถสอนในรูปแบบของตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว บท เพลง และสื่อดิจิตอล โดยเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ สถาบันยังได้มีการนำเอานวัต กรรมรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ หรือ Learning methodology เข้ามาใช้ในการ เรียนการสอนอีกด้วย อาทิ การนำเอาบทเพลง (Memolody) เข้ามาใช้ในการเรียน รู้ศัพท์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแนวใหม่ ซึ่งสถาบันได้ทำการจ้างโปรดิวเซอร์มืออาชีพเข้ามาช่วยในการแต่งเพลง ตัดต่อและบันทึกเสียงด้วย ปัจจุบัน Enconcept มีบทเพลงเพื่อใช้ในการเรียนการสอนแล้วประมาณ 300 เพลง ครอบคลุมทั้งไวยากรณ์ รากศัพท์ บท สนทนาและคำศัพท์กว่า 3 พันคำ และการสอนผ่านวิธี Tree Tactics ซึ่งเป็นการนำเอาแกรมม่าเข้ามาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

ล่าสุด เอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่ ได้นำเอารูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันเข้าไปในยุค 5G หรือ 5 Generation ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้เรียนในปัจจุบันมากที่สุด โดยรูปแบบการสอนจะ เน้นในเรื่องของความเข้าใจ และสร้างความ สุขให้กับผู้เรียนเป็นหลัก ขณะเดียวกันยังจะได้มีการนำเอาเทคโนโลยีใกล้ตัวของ ผู้เรียนมาสร้างระบบ เพื่อใช้ในการเชื่อมโยง ติดต่อระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อาทิ การ นำเอาโทรศัพท์มือถือของผู้เรียนสามารถ ส่ง SMS ข้อคิดเห็น หรือคำถามที่ต้องการถามครูผู้สอนมาที่ส่วนกลางได้ทันที ซึ่งคำถามที่ส่งมา จะมีการยิงและส่งสัญญาณมาขึ้นที่หน้าจอ SmartBaord เป็นแถบ ด้านล่างเช่นเดียวกับที่เห็นในจอโทรทัศน์ เพื่อให้นักเรียนทั้งหมดทั่วประเทศได้เห็นคำถาม และการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผู้เรียนทุกคนมี สถาบันได้มีการนำเอาข้อมูลต่างๆ และภาพการเรียนการสอนในทุกครั้งเข้าไปในระบบของสถาบัน จากนั้นผู้เรียนที่ไม่เข้าใจ หรืออยากกลับไปทบทวนที่บ้าน หรือพลาดข้อมูลสำคัญในห้องเรียน และจดตามไม่ทันก็สามารถเข้าไป log in เข้าสู่ระบบของ Enconcept ก็จะสามารถดูข้อมูลบนกระดาน Smart Board จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้ ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนของตนเองได้

นายธเนศ กล่าวว่า สำหรับงบลงทุนที่ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนนั้นประมาณ 20-25 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบการลงทุนที่สถาบันได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อได้มีการนำเอาระบบการ เรียนการสอนที่ทันสมัยแล้วสถาบันคาดว่าจะสามารถดึงดูดกลุ่มผู้เรียนให้เข้ามาเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาเรียนจะเป็นนักเรียนและนักศึกษาประมาณ 97% และคนทำงาน 3%

ปัจจุบันสถาบันสอนภาษาอังกฤษ เอ็นคอนเส็ปท์ อี แอค เคเดมี่มีนักเรียนประมาณ 1 แสนคน จาก 26 สาขา 19 จังหวัด โดยต่อสาขามีนักเรียนเฉลี่ย 1 พันคน สำหรับในปีนี้บริษัทมีแผนที่จะ ขยายสาขาเพิ่มอีก 4 สาขา ได้แก่ เชียง ราย, ตรัง, อยุธยา และอุดรธานี ซึ่งทั้ง 4 สาขาที่เข้าไปเปิดนี้เพราะมองว่าเป็นจังหวัด ที่มีนักเรียนให้ความสนใจภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถาบันได้มีการเข้าไปเปิดสอนบ้างแล้วในบางจังหวัดที่ใกล้เคียง โดยมีงบการลงทุนต่อ สาขาอยู่ที่ประมาณ 3-4 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในปี 2551 นี้สถาบันยังได้เตรียมรีโนเวตอีกประมาณ 4-5 สาขา ทั้งนี้เพื่อต้องการให้สาขามีความทันสมัยขึ้น และสามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สถาบันได้มีการเข้าไปเพิ่มให้ด้วย โดยงบลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาทต่อสาขา สำหรับค่าเรียนจะอยู่ที่ 2.5-4.5 พันบาทต่อคอร์ส ซึ่งราคาที่เรียนในห้องอิน สตูดิโอ จะมีราคาเพิ่งกว่าห้องเรียนผ่านออนไลน์ประมาณ 20% โดยรายได้ในปี 2550 ที่ผ่านมาเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่มีประมาณ 300 ล้านบาท และในปี 2551 นี้สถาบันตั้งเป้าอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 20-25% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการขยายสาขาเพิ่ม และได้มีการ รีโนเวตภาพลักษณ์ใหม่ของห้องเรียน รวมไปถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน



 คำถามในห้องเรียน เทคโนโลยี 3 G 4G 5G คืออะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเราหรือไม่ 

ตอบ     ป็นที่รู้กันว่าก่อนที่จะมีการสื่อสารในระบบ 2G หรือ 3G ในปัจจุบันนั้น  เมืองไทยเราและทั่วโลกได้มีพัฒนาระบบการสื่อสารจากการสื่อสารผ่านบุคคลหรือสื่อกลาง เช่น การไปรษณีย์ เป็นต้น  มาเป็นการสื่อสารระบบ 1G หรือศัพท์เฉพาะทางวงการเรียกว่า ระบบการสื่อสารแบบ Analog คือ การใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียวเท่านั้น คือ โทรออกและรับสาย เท่านั้นไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน ข้อมูลและ Application ดังเช่นปัจจุบัน  แม้แต่การรับหรือส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G เพราะในยุคนั้น ความจำเป็นในการใช้งานด้านอื่นๆ  นอกจากเสียงเพื่อการติดต่อสื่อสารยังไม่แพร่หลาย  และการใช้โทรศัพท์ยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเท่าใดนัก อีกทั้งโทรศัพท์ก็มีราคาแพงผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้จึงมีแต่นักธุรกิจที่มีรายได้สูงๆ เท่านั้น
  
 ตัวอย่างการสื่อสารระบบ 1G ที่เราคุ้นเคยในอดีต คือ โทรศัพท์รูปแบบใหญ่เทอะทะ  การใช้งานง่ายๆ  ไม่มีการโชว์เบอร์หรือหน้าจอที่สวยงาม ใช้ได้แค่เพียงรับสายหรือโทรออกเพื่อคุย บางครั้งเราก็เรียกเป็นทำนองล้อเลียนตามขนาดของโทรศัพท์ว่า รุ่น “กระดูกหมู” บ้างก็มี  และที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพจเจอร์ที่รับเฉพาะข้อความจากผู้ส่งผ่านเครือข่ายที่ให้บริการ  เมื่อในอดีตที่ผ่านมานั่นเอง  การให้บริการระบบ 1G เริ่มต้นในปีค.ศ. 1980  จนเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  มาเป็นการสื่อสารแบบระบบ 2G  หรือการสื่อสารระบบ Digital ต่อมา
เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 2G ( Second Generation )  
เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร  จากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital โดยส่งทางคลื่นไมโครเวฟ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งานเสียงเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต  2G นี้  เราสามารถ รับและส่งข้อมูลต่าง ๆ และติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming  
GSM เดิมเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับบริการสื่อสารทางเสียงและการรับหรือส่งข้อมูลแบบง่ายๆ ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งในเอเชียและยุโรป  ตัวอย่างการสื่อสารในระบบ 2G  ในยุคแรกๆ ที่เราคุ้นเคย  ก็คือการผลิตโทรศัพท์มือถือที่หน้าจอเป็นสีขาวดำ  เช่น รุ่น Nokia 3310 ที่เคยได้รับความนิยมก่อนหน้านี้  โดยนอกจากจะมีรูปแบบการสื่อสารทางเสียงแล้วยังเพิ่มคุณสมบัติการสื่อสารทาง sms หรือข้อความ  และเพิ่ม Application อย่างง่ายๆ เข้าไป เช่น  ปฏิทิน เกม นาฬิกาปลุก เป็นต้น สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์อธิบายวิวัฒนาการการสื่อสาร ที่ http://mblog.manager.co.th/watokung/th-77667/
ยุคระบบ 2G  ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ  ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลงกว่ายุค 1G ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้นรวมทั้งในประเทศไทยด้วย  ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น  แต่หลังจากนั้นไม่นานรูปแบบการสื่อสารก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นระบบ 2.5 และ 2.75G จากระบบเสียงโมโนโทน  เริ่มพัฒนาเป็นเสียงโพลีโฟนิกซ์และเสียงแบบสมจริงเหมือน mp3 ปัจจุบันมีแนวโน้มจะพัฒนาไปเป็นระบบ 3G เรื่อยๆ
ก่อนจะกล่าวถึงระบบ 3G ข้าพเจ้าขออธิบายถึง ระบบ 2.5 และ2.75G ก่อนเพื่อให้ท่านทราบถึงความสัมพันธ์ของแต่ละระบบว่าเป็นอย่างไร
2.5G เป็นรูปแบบกึ่งกลางระหว่าง 2G และ 3G ยุคนี้เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service)  ตามหลักการแล้ว เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (1G ส่งข้อมูลได้ 9 Kbps ต่อวินาที) แต่ในบ้านเราใช้ได้แค่ 40 Kbps ต่อวินาทีเท่านั้น   2.5Gนี้มีการพัฒนาให้เครื่องมือสื่อสารมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แต่ยุคนี้ยังเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ  ดาวโหลดได้ช้าและได้จำนวนน้อย  ซึ่งเราจะเห็นตัวอย่างง่ายๆ จากโทรศัพท์มือถือที่เป็นสีรุ่นแรกๆ  นั่นเอง
ส่วนระบบ 2.75G นั้นเป็นการเริ่มใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) หรือบ้านเราเรียกว่า “เอดจ์”  EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดจากการพัฒนาของ GPRS ลักษณะการทำงานจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น  มีความเร็วระดับกว่า  40  Kbpsในระบบ 2G  ถึง 4 เท่าตัว แต่เราไม่ค่อยคุ้นเคยกับศัพท์นี้  เพราะทางผู้ผลิตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและไม่ได้ประกาศให้ผู้บริโภคทราบอย่างเป็นทางการ  ในความเป็นจริงแล้วเรามักซื้อโทรศัพท์ตามลูกเล่นและราคา  ไม่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดอย่างแท้จริง  จึงไม่ทราบว่าเป็นรูปแบบระบบไหน  ในเมืองไทยปัจจุบันถือว่าเป็นรูปแบบ 2.75G นี้เอง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คาบเกี่ยวกับระบบ 3G  สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของเทคโนโลยีเอดจ์ในรูปแบบ 2.75จี  นี้ได้ที่เว็ปไซต์http://www.vcharkarn.com/vblog/34978

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 3G ( Third Generation )
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง  ซึ่งแต่เดิมเครื่องมือสื่อสารทำได้เพียงรับส่งข้อมูลภาพและเสียงต่างเวลาและสถานที่กัน  การสนทนาก็มีเพียงแค่เสียงไม่สามารถเห็นหน้าขณะสนทนาได้แต่ระบบนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพมาก เช่น การรับ-ส่ง Fileข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก การใช้บริการ Video/ Call Conference หรือการสนทนาผ่านระบบวีดีโอ ที่มองเห็นหน้าและสามารถพูดคุยกันได้เสมือนอยู่ต่อหน้ากัน  และสามารถ Download เพลงและดู TV Streaming ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก  คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On กล่าวคือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดใช้งานโทรศัพท์โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อและล็อกอินเข้าเครือข่ายข้อมูลเหมือนจีพีอาร์เอส  ระบบภาพและเสียงที่มีประสิทธิภาพสมจริง  สามารถประชุมทางไกลร่วมกันเพียงผ่านเครื่องมือสื่อสาร  การดาวโหลดและอัพโหลดข้อมูลปัจจุบันอยู่ที่Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps ต่อวินาที  ในอนาคตมีแนวโน้มว่าอัตราการดาวและอัพโหลดข้อมูลจะมากถึง 42 Mbps ต่อวินาทีเลยที่เดียว  การทำงานเปรียบได้กับการมีคอมพิวเตอร์กะทัดรัดที่สามารถพกพาได้เลยทีเดียว 
ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G คือ mobile phone เช่น ไอโฟน 3จีที่คนไทยรู้จักกันดี , PDA (Personal Digital Assistant) , Laptop , Palmtop , PC (Personal Computer) เป็นต้น  ในเมืองไทยระบบนี้ยังไม่มีใช้งาน  เพราะติดขัดด้านกฎหมายหลายอย่าง  อย่างไรก็ดีในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศเริ่มมีการใช้ระบบ 4Gแล้ว  ในทรรศนะของข้าพเจ้าคิดว่า 3G เป็นระบบเครือข่ายแบบก้าวกระโดด  กล่าวคือการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วความโดดเด่นอาจไปปรากฏในลักษณะรูปแบบ 4G พูดง่ายๆก็คือ 3G เป็นเพียงจุดเริ่มต้นการพัฒนาสู่ระบบ 4G นั่นเอง 

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 4G ( Forth Generation )
เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ (IP digital packet )  เป็นเส้นทางโอนถ่ายข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยสายเคเบิล  ระบบเครือข่ายนี้สามารถใช้งานได้แบบไร้สาย  รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง   สามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงมากกว่าระบบ 3G ที่เพิ่มขึ้นถึง 100 Mbps ต่อวินาที  ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบ คลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  และถือเป็นความ เร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ 
ระบบนี้สามารถใช้งานด้านการสื่อสารได้ทั่วโลก  ส่งข้อมูลได้มากกว่ามีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดและราคาถูก  เช่น หากเราต้องการดาวโหลดหนังหรือเพลงสักหนึ่งข้อมูลลง  ก็สามารถดาวโหลดได้ทันทีและรวดเร็วเสมือนใช้อินเตอร์เน็ตจากพีซีที่บ้าน  แต่สะดวกและรวดเร็วกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้สายและราคาถูกกว่า 3G มาก (ศึกษาเปรียบเทียบจากการพัฒนาเพื่อการใช้งานของระบบ 4G ในต่างประเทศที่จะเริ่มให้บริการ  เพราะปัจจุบันเทคโนโลยี 4G ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงความเป็นไปได้ และความชัดเจนที่แน่นอนจากประเทศที่พัฒนาระบบนี้ )  ในบางครั้งหากเราต้องการดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น  ก็สามารถรับชมได้ทันทีจากการส่งข้อมูลของผู้ที่เราสนทนาด้วย  เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารอย่างหูทิพย์ตาทิพย์แบบปัจจุบันทันด่วนเลยทีเดียว
สรุป ความแตกต่างระหว่าง 2G  3G  และ 4G
            2G  เริ่มแรกเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนการสนทนากันได้ทันที แต่ได้เพียงแค่เสียง รับ-ส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพขาว-ดำ ได้ในจำนวนหนึ่ง  รูปแบบข้อมูลเสียงเป็นโมโนโทน  มี Application ง่ายเครื่องมือการสื่อสารระบบนี้ เช่น  โทรศัพท์มือถือหน้าจอขาว-ดำ เป็นต้น  และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ 2.5และ2.75G  ที่พัฒนา Application ที่หลากหลายมากขึ้น  รับและส่งข้อมูลรูปแบบสีสันเสมือนจริง  ระบบเสียงเป็นโพลีโฟนิกซ์และ mp3 เสมือนจริงตามลำดับ  เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการ  รับ-ส่ง และดาวโหลดข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี GPRS และ EDGE ได้ แต่ไม่สามารถดาวโหลดข้อมูลที่มีขนาดและความละเอียดที่สูงมากได้  การสนทนายังเป็นรูปแบบแลกเปลี่ยนเสียงเหมือนเดิม
            3G  พัฒนามาจาก 2G เครื่องมือที่รองรับมี Application ที่หลากหลายมากขึ้น  รับ-ส่ง และดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลได้จำนวนมากๆ  และมีความละเอียดสูง  ที่สำคัญคือสามารถสนทนาและประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยคู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้ากันและกันขณะพูด  เข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ต้องสมัครหรือล็อกอิน( Always on )ได้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องมือใช้งาน  และเชื่อมต่อเครือข่ายได้ทุกที่ทั่วโลก
            4G  พัฒนาต่อยอดจาก 3G  เป็นการประยุกต์เอารูปแบบการสื่อสารทั้งหมดที่มีประสิทธิภาพมารวมกันเป็นระบบเดียว  รูปแบบและระบบการทำงานบางอย่างเหมือนกับ 3G  แต่มีการเพิ่มขีดความสามรถการรับส่งข้อมูล  ดาวโหลด อัพโหลด เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์-เอ็กซ์เตอร์เน็ตได้มากกว่าระบบเดิม  มีความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยพัฒนามา  จัดการข้อมูลที่มีความละเอียดและขนาดใหญ่มากๆ ได้ทันทีและรวดเร็ว  ดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สดๆ และละเอียดสมจริงไม่สะดุด  ระบบ 4G นี้กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบสากลและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต